น่าจะปิดเทอมให้นานกว่านี้เนอะ ไม่ได้หยุดกะชาวบ้านเค้าเลย ทำงานตลอด กลับบ้านมืดๆ ค่ำๆ ทู๊กวัน จะมีใครเห็นใจเรามั้งไหมน้อ
พอวันจะขอกลับก่อน ไม่กี่นาที ก็โดนมองโดนโทรถามซะงั้น ทำให้เรารู้สึกผิดยังไงไม่รู้ หุหุ ( อย่าว่ากันเลยนะพี่น้อง กลับก่อนเพื่อนแค่วันเดียวเอง ) คริคริ ก็มันจำเป็นนี่นา 555555
เสาร์นี้เปิดเทอมแล้วโว้ยยยยยยยยยยย เหนื่อยอีกตามเคยยยยยยยย
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553
ประชาธิปไตยที่ “มนุษย์เท่าเทียมกัน”
ประชาธิปไตยที่ “มนุษย์เท่าเทียมกัน”
นักปรัชญาชายขอบ
หากความหมายของประชาธิปไตยคือ “อำนาจตัดสินใจทางการเมือง และหรือที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะเป็นของประชาชน” ความหมายดังกล่าวนี้จะไม่มีทางทำให้เป็นจริงได้หากปราศจากการยอมรับหลักการที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน”
แต่หลักการดังกล่าวนี้ดูเหมือนจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่ามนุษย์นั้นแตกต่างกันอย่างน้อยก็ 2 ด้านใหญ่ๆ คือ“ความแตกต่างด้านชีววิทยา” เช่น บางคนเกิดมาสมประกอบ บางคนเกิดมาพิการ บางคนร่างกายอ่อนแอ บางคนแข็งแรง บางคนโง่ บางคนฉลาด ความสามารถในการเรียนรู้ ความคิดความอ่านเป็นต้นของคนเราไม่เท่ากัน
ซึ่งความไม่เท่ากันดังกล่าวนั้นทำให้เกิดความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ “ความแตกต่างด้านสังคมวิทยา” เช่น ระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สิน อำนาจ รสนิยม ชาติตระกูล ความสำเร็จ เกียรติ ชื่อเสียง ยศถาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ
สังคมที่เรียบง่ายในยุคเกษตรกรรมความแตกต่างเหล่านี้อาจมีไม่มากนัก แต่สังคมที่ซับซ้อนเช่นปัจจุบันความแตกต่างดังกล่าวมีมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดชนชั้นทางสังคม เช่น คนชั้นสูง คนชั้นกลางระดับสูง คนชั้นกลางระดับกลาง คนชั้นกลางระดับล่าง คนชั้นต่ำหรือชนชั้นรากหญ้า
ความแตกต่างทางระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สิน อำนาจ รสนิยม ฯลฯ ทำให้คนเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นเฉพาะในชนชั้นของตนเองทั้งในด้านการทำงาน กิจกรรมทางสังคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันทุกข์สุข การพักผ่อน กิจกรรมบันเทิง ฯลฯ และรวมไปถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือการกำหนดประเด็นสาธารณะต่างๆ ด้วย
แม้ความแตกต่างทางชนชั้นในปัจจุบันจะไม่ใช่ความแตกต่างที่เข้มข้นเหมือนความแตกต่างภายใต้ระบบศักดินา แต่ก็เป็นความแตกต่างที่สะท้อนให้เห็น “ช่องว่าง” หรือความไม่เป็นธรรมทางสังคมอย่างน่าตกใจ ดังข้อสังเกตของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่ว่า
“... ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย หรือระหว่างคนข้างล่างกับคนข้างบน คือ ภาพสะท้อนมหภาคของความไม่เป็นธรรม เราเป็นคนเหมือนกันควรจะมีศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นคนเหมือนกัน แต่ทำไมจึงแตกต่างกันมากเหลือเกินระหว่างคนข้างล่างที่ปากกัดตีนถีบไม่พอที่จะเลี้ยงลูก กับคนข้างบนที่อาจมีรายได้เป็นล้านๆ บาทต่อเดือน เรามีปัญหาความไม่เป็นธรรมทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางกฎหมายและการเข้าถึงทรัพยากร เรารู้หรือไม่ว่ากฎหมายและการประยุกต์ใช้กฎหมายมีอคติต่อคนจน ความขัดแย้งทั่วแผ่นดินเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรที่รัฐไม่อำนวยความเป็นธรรม” [1]
ประเด็นคือการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ และหากประชาธิปไตยหมายถึงอำนาจเป็นของประชาชน และเป็นอำนาจบนหลักการที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” เพราะมีแต่มนุษย์ที่เท่าเทียมกัน (หรือสมาชิกแห่งสังคมที่ยืนยันหลักการ “ความเสมอภาค”) เท่านั้นเมื่อมาต่อรองอำนาจและผลประโยชน์กัน ผลลัพธ์ของการแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์จึงจะออกมาอย่างเป็นธรรม
ฉะนั้น เราไม่อาจจินตนาการถึงสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงซึ่งปฏิเสธหลักการ “ความเท่าเทียมของมนุษย์” เช่น ถือว่าในสังคมนั้นต้องมีบุคคลพิเศษที่อยู่เหนือมนุษย์อื่นๆ ทั้งในแง่ชาติตระกูล คุณธรรม การมีอภิสิทธิ์ หรืออำนาจที่ไม่มีประชาชนคนใดอาจตั้งคำถาม ตรวจสอบ หรือกำกับให้รับผิดชอบต่อการใช้อำนาจนั้นได้
แต่ในสังคมบ้านเรานั้น ไม่จำเป็นต้องใช้จินตนาการเราก็เห็นความเป็นจริงของสังคมที่ไม่อาจจินตนาการถึงนั้นอยู่เต็มตา ทั้งยังเห็นช่องว่างทางชนชั้นทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมซึ่งนับวันจะถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ประชาธิปไตยที่อำนาจของประชาชนอยู่บนพื้นฐานของหลักการความเท่าเทียมของมนุษย์จึงยากจะเป็นไปได้
อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่เชื่อย่างลึกซึ้งในหลักการที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” [2] แต่จากที่กล่าวมาเราอาจสรุปข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับหลักการนี้ให้ชัดขึ้น คือ
1.ความเชื่อร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมของสังคม (ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและวัฒนธรรมตกทอดจากอดีต) ที่ยอมรับอภิสิทธิชนที่อยู่เหนือการตั้งคำถามและการตรวจสอบในทุกรณี เป็นความเชื่อหรืออุดมการณ์ที่ขัดแย้ง “เชิงอุดมการณ์” ต่อหลักการ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” อย่างสิ้นเชิง และนี่จึงเป็นอุปสรรคสำคัญของการเกิดประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนซึ่งเท่าเทียมกันสามารถต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์กันได้อย่างยุติธรรม
2.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความแตกต่างด้านชีววิทยา สังคมวิทยา หรือปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม ที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ไม่ใช่ความขัดแย้ง “เชิงอุดมการณ์” กับหลักการ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” เพราะหากไม่ยึดเอาความแตกต่างเหล่านั้นมาเป็นเงื่อนไขในการจำแนกความแตกต่างทางคุณค่าหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์ (เช่น ไม่ถือว่าคนรวยมีคุณค่าความเป็นคนมากกว่าคนจน ฯลฯ) สังคมก็ยังอาจรักษาอุดมการณ์ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” เอาไว้ได้
เช่น ไม่ว่าคนจนคนรวยก็ต้องเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ถูกตั้งคำถาม ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้ และวาง “ระบบ” ที่ทำให้ทุกคนในฐานะสมาชิกแห่งสังคมประชาธิปไตยได้เข้าสู่เวทีการต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์อย่างเสมอภาค (มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าเชื่อในเรื่องอภิสิทธิชนตามข้อ 1 จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย)
ดังนั้น ก้าวต่อไปของประชาธิปไตยในบ้านเรา จึงต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายสำคัญอยู่ 2 เรื่องหลักๆ คือ
1.เราจะสลายความเชื่อหรืออุดมการณ์ยอมรับอำนาจพิเศษของอภิสิทธิชน ด้วยการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่และวัฒนธรรมใหม่ที่ตั้งมั่นอยู่บนหลักการ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” ได้อย่างไร โดยประชาชนไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
2.เราจะจัดการกับปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร จึงจะทำให้เกิดสังคมที่มีการกระจายสิทธิ อำนาจ และผลประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเป็นธรรม หรือทำอย่างไรที่ประชาชนในทุกชนชั้นทางเศรษฐกิจ สังคม จะสามารถขึ้นสู่เวทีต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ หรือมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ อย่างเท่าเทียมมากขึ้น
ก็ได้แต่ฝากปัญหาให้ช่วยกันคิดหาทางแก้นะครับ เพราะเป็นปัญหาที่ผมเองก็จนด้วยเกล้าจริงๆ
...............................................................................
[1] http://www.thaipost.net/news/180309/1893
[2] ขอยืมความหมายจากข้อความในโพสต์ของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ว่า “ประชาธิปไตย นั้น ก่อนอื่นที่สุด คือความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่า คนเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นเทวดากว่าคนอื่น” (ดู http://www.prachatai.com/node/25214/talk)
นักปรัชญาชายขอบ
หากความหมายของประชาธิปไตยคือ “อำนาจตัดสินใจทางการเมือง และหรือที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะเป็นของประชาชน” ความหมายดังกล่าวนี้จะไม่มีทางทำให้เป็นจริงได้หากปราศจากการยอมรับหลักการที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน”
แต่หลักการดังกล่าวนี้ดูเหมือนจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่ามนุษย์นั้นแตกต่างกันอย่างน้อยก็ 2 ด้านใหญ่ๆ คือ“ความแตกต่างด้านชีววิทยา” เช่น บางคนเกิดมาสมประกอบ บางคนเกิดมาพิการ บางคนร่างกายอ่อนแอ บางคนแข็งแรง บางคนโง่ บางคนฉลาด ความสามารถในการเรียนรู้ ความคิดความอ่านเป็นต้นของคนเราไม่เท่ากัน
ซึ่งความไม่เท่ากันดังกล่าวนั้นทำให้เกิดความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ “ความแตกต่างด้านสังคมวิทยา” เช่น ระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สิน อำนาจ รสนิยม ชาติตระกูล ความสำเร็จ เกียรติ ชื่อเสียง ยศถาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ
สังคมที่เรียบง่ายในยุคเกษตรกรรมความแตกต่างเหล่านี้อาจมีไม่มากนัก แต่สังคมที่ซับซ้อนเช่นปัจจุบันความแตกต่างดังกล่าวมีมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดชนชั้นทางสังคม เช่น คนชั้นสูง คนชั้นกลางระดับสูง คนชั้นกลางระดับกลาง คนชั้นกลางระดับล่าง คนชั้นต่ำหรือชนชั้นรากหญ้า
ความแตกต่างทางระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สิน อำนาจ รสนิยม ฯลฯ ทำให้คนเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นเฉพาะในชนชั้นของตนเองทั้งในด้านการทำงาน กิจกรรมทางสังคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันทุกข์สุข การพักผ่อน กิจกรรมบันเทิง ฯลฯ และรวมไปถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือการกำหนดประเด็นสาธารณะต่างๆ ด้วย
แม้ความแตกต่างทางชนชั้นในปัจจุบันจะไม่ใช่ความแตกต่างที่เข้มข้นเหมือนความแตกต่างภายใต้ระบบศักดินา แต่ก็เป็นความแตกต่างที่สะท้อนให้เห็น “ช่องว่าง” หรือความไม่เป็นธรรมทางสังคมอย่างน่าตกใจ ดังข้อสังเกตของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่ว่า
“... ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย หรือระหว่างคนข้างล่างกับคนข้างบน คือ ภาพสะท้อนมหภาคของความไม่เป็นธรรม เราเป็นคนเหมือนกันควรจะมีศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นคนเหมือนกัน แต่ทำไมจึงแตกต่างกันมากเหลือเกินระหว่างคนข้างล่างที่ปากกัดตีนถีบไม่พอที่จะเลี้ยงลูก กับคนข้างบนที่อาจมีรายได้เป็นล้านๆ บาทต่อเดือน เรามีปัญหาความไม่เป็นธรรมทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางกฎหมายและการเข้าถึงทรัพยากร เรารู้หรือไม่ว่ากฎหมายและการประยุกต์ใช้กฎหมายมีอคติต่อคนจน ความขัดแย้งทั่วแผ่นดินเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรที่รัฐไม่อำนวยความเป็นธรรม” [1]
ประเด็นคือการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ และหากประชาธิปไตยหมายถึงอำนาจเป็นของประชาชน และเป็นอำนาจบนหลักการที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” เพราะมีแต่มนุษย์ที่เท่าเทียมกัน (หรือสมาชิกแห่งสังคมที่ยืนยันหลักการ “ความเสมอภาค”) เท่านั้นเมื่อมาต่อรองอำนาจและผลประโยชน์กัน ผลลัพธ์ของการแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์จึงจะออกมาอย่างเป็นธรรม
ฉะนั้น เราไม่อาจจินตนาการถึงสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงซึ่งปฏิเสธหลักการ “ความเท่าเทียมของมนุษย์” เช่น ถือว่าในสังคมนั้นต้องมีบุคคลพิเศษที่อยู่เหนือมนุษย์อื่นๆ ทั้งในแง่ชาติตระกูล คุณธรรม การมีอภิสิทธิ์ หรืออำนาจที่ไม่มีประชาชนคนใดอาจตั้งคำถาม ตรวจสอบ หรือกำกับให้รับผิดชอบต่อการใช้อำนาจนั้นได้
แต่ในสังคมบ้านเรานั้น ไม่จำเป็นต้องใช้จินตนาการเราก็เห็นความเป็นจริงของสังคมที่ไม่อาจจินตนาการถึงนั้นอยู่เต็มตา ทั้งยังเห็นช่องว่างทางชนชั้นทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมซึ่งนับวันจะถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ประชาธิปไตยที่อำนาจของประชาชนอยู่บนพื้นฐานของหลักการความเท่าเทียมของมนุษย์จึงยากจะเป็นไปได้
อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่เชื่อย่างลึกซึ้งในหลักการที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” [2] แต่จากที่กล่าวมาเราอาจสรุปข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับหลักการนี้ให้ชัดขึ้น คือ
1.ความเชื่อร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมของสังคม (ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและวัฒนธรรมตกทอดจากอดีต) ที่ยอมรับอภิสิทธิชนที่อยู่เหนือการตั้งคำถามและการตรวจสอบในทุกรณี เป็นความเชื่อหรืออุดมการณ์ที่ขัดแย้ง “เชิงอุดมการณ์” ต่อหลักการ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” อย่างสิ้นเชิง และนี่จึงเป็นอุปสรรคสำคัญของการเกิดประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนซึ่งเท่าเทียมกันสามารถต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์กันได้อย่างยุติธรรม
2.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความแตกต่างด้านชีววิทยา สังคมวิทยา หรือปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม ที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ไม่ใช่ความขัดแย้ง “เชิงอุดมการณ์” กับหลักการ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” เพราะหากไม่ยึดเอาความแตกต่างเหล่านั้นมาเป็นเงื่อนไขในการจำแนกความแตกต่างทางคุณค่าหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์ (เช่น ไม่ถือว่าคนรวยมีคุณค่าความเป็นคนมากกว่าคนจน ฯลฯ) สังคมก็ยังอาจรักษาอุดมการณ์ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” เอาไว้ได้
เช่น ไม่ว่าคนจนคนรวยก็ต้องเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ถูกตั้งคำถาม ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้ และวาง “ระบบ” ที่ทำให้ทุกคนในฐานะสมาชิกแห่งสังคมประชาธิปไตยได้เข้าสู่เวทีการต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์อย่างเสมอภาค (มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าเชื่อในเรื่องอภิสิทธิชนตามข้อ 1 จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย)
ดังนั้น ก้าวต่อไปของประชาธิปไตยในบ้านเรา จึงต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายสำคัญอยู่ 2 เรื่องหลักๆ คือ
1.เราจะสลายความเชื่อหรืออุดมการณ์ยอมรับอำนาจพิเศษของอภิสิทธิชน ด้วยการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่และวัฒนธรรมใหม่ที่ตั้งมั่นอยู่บนหลักการ “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน” ได้อย่างไร โดยประชาชนไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
2.เราจะจัดการกับปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร จึงจะทำให้เกิดสังคมที่มีการกระจายสิทธิ อำนาจ และผลประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเป็นธรรม หรือทำอย่างไรที่ประชาชนในทุกชนชั้นทางเศรษฐกิจ สังคม จะสามารถขึ้นสู่เวทีต่อรองในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ หรือมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ อย่างเท่าเทียมมากขึ้น
ก็ได้แต่ฝากปัญหาให้ช่วยกันคิดหาทางแก้นะครับ เพราะเป็นปัญหาที่ผมเองก็จนด้วยเกล้าจริงๆ
...............................................................................
[1] http://www.thaipost.net/news/180309/1893
[2] ขอยืมความหมายจากข้อความในโพสต์ของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ว่า “ประชาธิปไตย นั้น ก่อนอื่นที่สุด คือความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่า คนเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นเทวดากว่าคนอื่น” (ดู http://www.prachatai.com/node/25214/talk)
วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ฝนตกอีกแล้วครับท่าน
ตากผ้าเสร็จ ฝนก็ตกซะไม่ฟังเสียงใคร งานเข้าอีกแว้วตู แล้วจะมีผ้าใส่ไปเรียนพรุ่งนี้ไหมนะเรา
เศร้า ๆๆๆ
เศร้า ๆๆๆ
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553
don't wait
Don't wait for a smile to be nice.. อย่ารอคอยให้ได้รับรอยยิ้ม แล้วจึงทำดี
Don't wait to be loved, to love. อย่ารอคอยให้มีคนรัก แล้วจึงมอบความรักแก่ผู้อื่น
Don't wait to be lonely, to recognize the value of a friend. อย่ารอคอยจนกลายเป็นคนโดดเดี่ยว แล้วจึงเห็นคุณค่าของเพื่อน
Don't wait for the best job, to begin to work. อย่ารอคอยให้ได้งานที่ดีที่สุด แล้วจึงเริ่มทำงาน
Don't wait to have a lot, to share a bit. อย่ารอคอยให้มีมากๆ แล้วจึงเริ่มแบ่งปันเพียงน้อยนิด
Don't wait for the fall, to remember the advice. อย่ารอคอยจนพบความล้มเหลว จึงจดจำคำแนะนำของผู้อื่น
Don't wait for pair, to believe in prayer. อย่ารอคอยจนพบเนื้อคู่ แล้วจึงเชื่อในคำอธิษฐาน
Don't wait to have time, to be able to serve. อย่ารอคอยให้มีเวลา แล้วจึงทำประโยชน์
Don't wait for anybody else pain, to ask for apologies... neither seperation to make it up.
อย่ารอคอยให้คนอื่นเจ็บปวดเสียก่อนแล้วจึงขอโทษ หรือเลิกคบกันก่อน แล้วจึงหวนมาคืนดี
Don't wait... Because you don't know how long it will takes. อย่ารอคอย......เพราะคุณไม่รู้ว่ามันจะต้องใช้เวลานานเท่าใด
Don't wait to be loved, to love. อย่ารอคอยให้มีคนรัก แล้วจึงมอบความรักแก่ผู้อื่น
Don't wait to be lonely, to recognize the value of a friend. อย่ารอคอยจนกลายเป็นคนโดดเดี่ยว แล้วจึงเห็นคุณค่าของเพื่อน
Don't wait for the best job, to begin to work. อย่ารอคอยให้ได้งานที่ดีที่สุด แล้วจึงเริ่มทำงาน
Don't wait to have a lot, to share a bit. อย่ารอคอยให้มีมากๆ แล้วจึงเริ่มแบ่งปันเพียงน้อยนิด
Don't wait for the fall, to remember the advice. อย่ารอคอยจนพบความล้มเหลว จึงจดจำคำแนะนำของผู้อื่น
Don't wait for pair, to believe in prayer. อย่ารอคอยจนพบเนื้อคู่ แล้วจึงเชื่อในคำอธิษฐาน
Don't wait to have time, to be able to serve. อย่ารอคอยให้มีเวลา แล้วจึงทำประโยชน์
Don't wait for anybody else pain, to ask for apologies... neither seperation to make it up.
อย่ารอคอยให้คนอื่นเจ็บปวดเสียก่อนแล้วจึงขอโทษ หรือเลิกคบกันก่อน แล้วจึงหวนมาคืนดี
Don't wait... Because you don't know how long it will takes. อย่ารอคอย......เพราะคุณไม่รู้ว่ามันจะต้องใช้เวลานานเท่าใด
นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)